วันพุธที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2553


1.                 ข้อมูลทั่วไป
1.1   ชื่อ  สถานศึกษา  โรงเรียนบ้านไอร์โซ  ตั้งอยู่หมู่ที่   5  ถนน  -  ตำบล  ช้างเผือก  อำเภอจะแนะ  จังหวัด นราธิวาส  รหัสไปรษณีย์  96220  โทรศัพท์  073551752   E-Mail   iso_school @  hatmail.com  website : isoschool.net   สังกัด  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต 3
1.2  เปิดสอนตั้งแต่ระดับชั้น  อนุบาล  ถึงระดับชั้นประถมศึกษาปีที่  6  มีเขตพื้นที่บริการ  5หมู่บ้าน  คือ
     1.  หมู่บ้านไอร์โซ          มีจำนวน  120  ครัวเรือน  ประชากร  1350  คน ห่างจากโรงเรียน 2  กิโลเมตร
     2.  หมู่บ้านไอร์ลากอ    มีจำนวน    20  ครัวเรือน   ประชากร  100  คน  ห่างจากโรงเรียน 3  กิโลเมตร
     3.  หมู่บ้านไอร์กือซา    มีจำนวน    50  ครัวเรือน   ประชากร  140  คน  ห่างจากโรงเรียน 3  กิโลเมตร
     4.หมู่บ้านปูลากีโย        มีจำนวน    40  ครัวเรือน   ประชากร  100  คน  ห่างจากโรงเรียน 4  กิโลเมตร
     5.  หมู่บ้านนาแบง        มีจำนวน    20  ครัวเรือน   ประชากร  100  คน  ห่างจากโรงเรียน 7  กิโลเมตร

2.  ข้อมูลด้านบริหาร 
            2.1 ชื่อ สกุล  ผู้บริหาร  นายกอเซ็ง  บินเจ๊ะอาลี 
วุฒิการศึกษาสูงสุด  ศศ.ม.  สาขา  วิเคราะห์นโยบาย 
ดำรงตำแหน่ง  ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านไอร์โซ
                2.2  ผู้ช่วยผู้บริหาร  (ที่ได้รับการแต่งตั้ง)  -   คน
                       ชื่อ สกุล  -   วุฒิการศึกษาสูงสุด    -
3.  สภาพปัจจุบันของโรงเรียนบ้านไอร์โซ
โรงเรียนบ้านไอร์โซ  ซึ่งเป็นโรงเรียนในโครงการพระราชดำริของสมเด็จพระเทพ
        รัตนราชสุดา ฯ  สยามบรมราชกุมารี  มีการจัดการศึกษา  2  ระดับ  คือ  ระดับก่อนประถม และระดับประถมศึกษา  เปิดทำการเรียนการสอนหลักสูตรอิสลามศึกษา หรือโรงเรียนสองระบบ  การบริหารจัดการด้านการศึกษาในอดีตมีปัญหาอยู่บ้างแต่ปัจจุบันประชากรตื่นตัวทางการศึกษา  ประกอบกับกฎหมายการศึกษาที่เอื้อให้ประชาชน  ครอบครัว  ชุมชนองค์กรต่างๆ เข้ามามีส่วนร่วมมากขึ้น  กอปรกับความต้องการให้บุตรหลานมีโอกาสได้ศึกษาในโรงเรียนที่ดีมีคุณภาพ   เพื่อให้มีความรู้ความสามารถทุกๆด้าน   ทำให้โรงเรียนต้องปรับตัวในการเพิ่มศักยภาพของนักเรียน   จึงเป็นเหตุจากปัจจัยภายนอกที่เอื้อต่อการจัดการศึกษา  ส่วนปัจจัยภายในที่เอื้อต่อการจัดการศึกษา  คือผู้บริหารที่มีภาวะผู้นำและบุคลากรที่มีศักยภาพ  โรงเรียนมีโครงการสร้างการบริหารงาน  5  กลุ่มงาน  ดังนี้  กลุ่มงานบริหารงานวิชาการ  กลุ่มงานบริหารงานบุคคล  กลุ่มงานบริหารงานงบประมาณ   กลุ่มงานบริหารงานทั่วไป  และ กลุ่มงานบริหารงานโครงการพระราชดำริของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ  สยามบรมราชกุมารี

 ข้อมูลทั่วไปของโรงเรียนบ้านไอร์โซ
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ  พ.ศ.  2542  และแก้ไขเพิ่มเติม  (ฉบับที่ 2)  พ.ศ.  2545  มีเจตนารมณ์อย่างชัดเจนให้การศึกษาเป็นเครื่องมือในการพัฒนาคน  คุ้มครองสิทธิสร้างความเสมอภาพ  ให้โอกาสทุกคนได้รับการศึกษาเท่าเทียมกันอย่างทั่วถึง  โดยเฉพาะการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน  ซึ่งพระราชบัญญัติ  ระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ  พ.ศ.  2546  มาตรา  33  ได้กำหนดให้  การบริหารและการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานให้ยึดเขตพื้นที่การศึกษา  โดยคำนึงถึง  ปริมาณสถานศึกษา  จำนวนประชากร  วัฒนธรรมและความเหมาะสม  ด้านอื่นๆด้วย  เว้นแต่การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน  ตามกฎหมายว่าด้วยการอาชีวศึกษา   
โรงเรียนบ้านไอร์โซ  เป็นหน่วยงานในสังกัด  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานราธิวาส  เขต  3  สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน  กระทรวงศึกษาธิการมีภารกิจหลักที่สำคัญ  คือ  จัดการศึกษาในระดับต่างๆ  ดังนี้ 
  1. จัดการศึกษาระดับก่อนประถมศึกษา
  2. จัดการศึกษาระดับประถมศึกษา
สภาพภูมิศาสตร์
                ที่ตั้ง  :  โรงเรียนบ้านไอร์โซ  ตั้งอยู่  หมู่ที่  5  ถนนจะแนะ ช้างเผือก  ตำบลช้างเผือก  อำเภอจะแนะ  จังหวัดนราธิวาส  รหัสไปรษณีย์  96220  หมายเลขโทรศัพท์  073551752
       ห่างจากที่ว่าการอำเภอจะแนะ  16  กิโลเมตร  และห่างจากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานราธิวาส  เขต  3  ประมาณ  36  กิโลเมตร  ห่างจากกรุงเทพมหานครโดยทางรถยนต์  1,200  กิโลเมตร
                ภูมิประเทศ  :  เป็นพื้นป่าและภูเขาล้อมรอบ  ปกคลุมไปด้วยป่าไม้  สวนยางพาราและผลไม้นานาชนิด
                ภูมิอากาศ  :  เป็นแบบมรสุมเขตร้อน  แบ่งฤดูกาลออกเป็น  2  ฤดู  ได้แก่  ฤดูฝน  ฝนตกชุกในช่วงเดือน  พฤศจิกายน มกราคม  ฤดูร้อน  อยู่ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ เมษายน
                สภาพสังคม  เศรษฐ กิจ  การปกครอง
                สภาพสังคม  :  เป็นสังคมชนบทของชาวไทยมุสลิม  อาศัยอยู่เป็นกลุ่มปลูกบ้านเรือนในลักษณะติดกันเป็นกลุ่มชาวบ้านนับถือศาสนาอิสลาม  ร้อยเปอร์เซ็นต์  การติดต่อสื่อสารในชีวิตประจำวันใช้ภาษามลายูท้องถิ่นหรือภาษายาวี  ทำให้เป็นปัญหาในการใช้ภาษาไทยในการสื่อสารและการจัดการเรียนการสอนของนักเรียน   ชุมชนยึดมั่นในหลักการสอนของศาสนาอิสลามอย่างเคร่งครัด  มีสภาพชีวิตความเป็นอยู่ในครรลองของวัฒนธรรมอิสลามอันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว   มีมัสยิดเป็นศูนย์กลางในการพัฒนาจิตใจ  และประกอบศาสนกิจการละหมาด  5  เวลา   และการถือศีลอดปีละ 1 ครั้ง  (30 วัน)   มีวัฒนธรรมและประเพณีปฏิบัติที่ชาวไทยมุสลิมได้ร่วมอนุรักษ์วัฒนธรรมในท้องถิ่นให้คงอยู่ต่อไป   คือ 

-                   การแต่งกาย                         
-                   จัดงานเมาลิด
-                   การกวนอาซูรอ
-                   การถือศีลอด
-                   วันรายอ
               เศรษฐกิจ  :  รายได้ประชากรส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับผลผลิตทางการเกษตร  และการค้า  อาชีพหลัก คือ  การทำสวนยางพารา  การปลูกผลไม้  และการเลี้ยงสัตว์  ประชากรมีรายได้เฉลี่ยต่อคนต่อปี 5,000  บาท
                การปกครอง :  ประชากรในเขตพื้นที่บริการของโรงเรียนบ้านไอร์โซ  หมู่ที่ 5  มีจำนวน  5  หมู่บ้าน คือ หมู่บ้านไอร์โซ  หมู่บ้านไอร์กือซา หมู่บ้านไอร์ลากอ  หมู่บ้านปูลากีโย  และหมู่บ้านนาแบง  อยู่ภายใต้การดูแลขององค์การบริหารส่วนตำบลช้างเผือก

 ข้อมูลพื้นฐานโรงเรียนบ้านไอร์โซ
1. ด้านปริมาณ
1.1  จำนวนนักเรียน  จำแนกตามระดับชั้น  ประจำปีการศึกษา  2552 (ข้อมูล  10 มิถุนายน  2552)
                                6.1  จำนวนนักเรียนในเขตพื้นที่บริการทั้งหมด 337 คน
                                6.2  จำนวนนักเรียนจำแนกตามระดับชั้นที่เปิดสอน  ซึ่งมีรายละเอียดดังตารางต่อไปนี้
ระดับชั้น
จำนวน
ห้องเรียน
จำนวนนักเรียน  (คน)
ชาย
หญิง
รวม
อนุบาล  1
2
17
13
30
อนุบาล  2
1
15
9
24
ประถมศึกษาปีที่  1/1
1
16
14
30
ประถมศึกษาปีที่  1/2
1
16
13
29
ประถมศึกษาปีที่  2/1
1
25
17
42
ประถมศึกษาปีที่  2/2
1
14
10
24
ประถมศึกษาปีที่  3
1
23
17
40
ประถมศึกษาปีที่  4
2
11
25
36
ประถมศึกษาปีที่  5
1
21
24
45
ประถมศึกษาปีที่  6
1
21
15
36
รวมทั้งสิ้น
11
180
163
343

รายชื่อบุคลากรจำแนกตามวุฒิและตำแหน่ง  ปีการศึกษา   2553
ที่
ชื่อ-นามสกุล
วุฒิ
สาขาวิชา
ตำแหน่ง
1
นายกอเซ็ง    บินเจ๊ะอาลี
ศศ.ม.
การวิเคราะห์ฯ
ผู้บริหาร
2
นายมาหะมะอุชมี  สาแล๊ะ
กศ.ม.
การบริหารการศึกษา
ครู  คศ. 1
3
นางคอยรียะห์   จันทร์สนิท
ค.บ.
การประถมศึกษา
ครู  คศ. 1
4
นางนาซีลา   สาเหาะ
วท.บ.
วิทยาศาสตร์
ครู  คศ. 1
5
นางสาวฮาดีบ๊ะ   ดือราแม็ง
ค.บ.
คณิตศาสตร์
ครู  คศ. 1
6
นางอภิรตี   กอวออูตู
ค.บ.
วิทยาศาสตร์
ครูผู้ช่วย
7
นางนูรฮายาตี   มะดีเย๊าะ
ค.บ.
การประถมศึกษา
ครูผู้ช่วย
8
นางสาวฟาฎีลา   บินฮายีมามะ
ค.บ.
การศึกษาปฐมวัย
ครูผู้ช่วย
9
นางยามีละห์   โดบีมอ
ค.บ.
คณิตศาสตร์
ครูผู้ช่วย
10
นางมัสตูราห์   แวดือราแม
ค.บ.
การศึกษาปฐมวัย
ครูผู้ช่วย
11
นางสาวสุไฮลา   บินเจะมุ
ค.บ.
การศึกษาปฐมวัย
ครูผู้ช่วย
12
นางสาวอารีนา   กะนอง
ศศ.บ.
อังกฤษ
ครูผู้ช่วย
13
นางซูรียานี   อิสมาแอ
วท.บ
เคมี
ครูผู้ช่วย
14
นายมะสะกรี     หะมะ
ค.บ.
คอมพิวเตอร์ศึกษา
ครูผู้ช่วย
15
นางสาวพารินดา   มิยะ
ค.บ.
ภาษาไทย
ครูผู้ช่วย
16
นางสาวนูรียา     ลาเตะ
ค.บ.
อังกฤษ
ครูผู้ช่วย
17
นายมูหะมะสามีรี   อิสมาแอ
วท.บ
เกษตรฯ
พนักงานราชการ
18
นางสาวสุไรดา   มะทา
ศศ.บ.
อิสลามศึกษา
พนักงานราชการ
19
นายอารือมัน   ตาเฮ
ค.บ.
เทคโนโลยีการศึกษา
พนักงานราชการ
20
นางสาวซูไวบ๊ะ   ตาเห
ม.6
-
ครูสองระบบ
21
นางสาวจริยา   แวบือซา
ศศ.บ.
กฎหมายอิสลามศึกษา
ครูสองระบบ
22
นางสาวรอฮีมะห์   โต๊ะลู
วท.บ.
เทคโนโลยีสารสนเทศ
ครูสองระบบ
23
นางสาวนูรีดา   หะยีหะมะ
ศศ.บ.
รัฐศาสตร์
ครู  LD
24
นายสะอาดา    ดอเลาะ
ม. 3
-
นักการภารโรง
2.   ด้านคุณภาพ
ผลการพัฒนาคุณภาพการศึกษาระดับโรงเรียน ปีการศึกษา 2552  โรงเรียนบ้านไอร์โซ 
กลุ่มสาระการเรียนรู้
คะแนนเฉลี่ย
คะแนนเฉลี่ย
คะแนนเฉลี่ย
คะแนนเฉลี่ย
คะแนนเฉลี่ย
คะแนนเฉลี่ย
คะแนนเฉลี่ย
ร้อยละ
ร้อยละ
ร้อยละ
ร้อยละ
ร้อยละ
ร้อยละ
ร้อยละ
ชั้น
ป.1
ป.2
ป.3
ป.4
ป.5
ป.6
ทั้งโรง
ภาษาไทย
69.83
59.49
58.83
65.42
60.96
64.92
63.24
คณิตศาสตร์
69.43
63.28
61.56
64.60
63.43
69.10
65.23
วิทยศาสตร์
64.60
59.70
57.17
64.70
61.70
65.60
62.25
สังคม
74.74
74.95
74.74
75.26
74.27
76.58
75.09
สุขศึกษาและพลศึกษา
70.75
76.99
76.63
79.02
76.17
80.71
76.71
ศิลปะ
75.36
75.85
74.29
78.03
74.40
77.60
75.92
การงานอาชีพ
75.03
74.80
75.21
75.77
76.53
77.74
75.85
อังกฤษ
66.98
62.77
62.01
62.14
60.91
61.76
62.76

นักเรียนมีระดับผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาเฉลี่ยตามเกณฑ์ทั้ง 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ (ภาษาไทย
        คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สุขศึกษาและพลศึกษา  ศิลปะ  การงานอาชีพและเทคโนโลยี  และภาษาต่างประเทศ)  คิดเป็นร้อยละ 69.63  อยู่ในระดับพอใช้
                โรงเรียนบ้านไอร์โซ  มีผลการประเมินคุณภาพนักเรียน ( NT : National  Test)  ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3  และผลการประเมินคุณภาพนักเรียน ( O-net ) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6  โรงเรียนบ้านไอร์โซ  เปรียบเทียบระหว่างปีการศึกษา 2550 – 2552  ดังตารางต่อไปนี้
     ชั้น
                                 วิชา / ปี
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
2550
2551
2552
2550
2551
2552
ภาษาไทย
47.27

42.62
23.90

44.12
คณิตศาสตร์
33.64

54.17
28.43

50.21
วิทยาศาสตร์


40.95
26.95

50.46
ภาษาอังกฤษ



26.50

42.22
สังคมศึกษา





29.77
สุขศึกษาพลศึกษา





47.00
ศิลปะ





47.24
การงานฯ





45.81
รวม(เฉลี่ย)
40.46

45.91
26.96
39.70
44.60
เพิ่ม/ลด







นักเรียนมีผลการประเมินคุณภาพนักเรียน NT : National  Test  และ  O-net  อยู่ในระดับควรปรับปรุง โรงเรียนบ้านไอร์โซ  ได้รับการประเมินคุณภาพภายนอก   จากสำนักงานประเมินคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาแห่งชาติ  

ตราโรงเรียน



 
ปรัชญา
ขยัน    มีวินัย  ใฝ่คุณธรรม


คำขวัญโรงเรียน
ใฝ่รู้  ใฝ่หา  ใฝ่ศึกษา



อักษรย่อ
อ.ซ.



สีประจำโรงเรียน
“ ม่วง  -  ชมพู”


วิสัยทัศน์

นักเรียนมีคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐานการศึกษา  มีทักษะในการใช้ภาษาไทย  มีคุณธรรม นำความรู้ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ครูมีศักยภาพจัดการเรียนรู้และเป็นมืออาชีพ  โรงเรียนมีแหล่งการเรียนรู้ที่หลากหลาย  ชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา  ตามโรงเรียนในโครงการพระราชดำริ  สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

พันธกิจ

ส่งเสริมผู้เรียนให้มีคุณธรรมนำความรู้ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง  มีคุณภาพตามเกณฑ์
มาตรฐานการศึกษาพัฒนาศักยภาพครูในการจัดการเรียนรู้  พัฒนาผู้เรียนในการใช้ภาษาไทยให้ถูกต้อง  ปรับปรุงภูมิทัศน์ให้ร่มรื่นสวยงาม  สะอาด  ปลอดภัยและเป็นการเรียนรู้ของชุมชน  

เป้าประสงค์

1. ส่งเสริมผู้เรียนให้มีคุณธรรมนำความรู้ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
2. พัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน
3. พัฒนาศักยภาพครูในการจัดการเรียนรู้สู่มือวิชาชีพ
4. พัฒนาผู้เรียนในการใช้ภาษาไทยให้ถูกต้องและใช้สื่อสารในชีวิตประจำวัน
5. ปรับปรุงภูมิทัศน์เพื่อเป็นแหล่งการเรียนรู้  มีความสวยงาม  ร่มรื่น  สะอาด  ปลอดภัย

คุณลักษณะอันพึงประสงค์
1. รักชาติ  ศาสน์ กษัตริย์
2. ซื่อสัตย์สุจริต              
3. มีวินัย
4. ใฝ่เรียนรู้                    
5. อยู่อย่างพอเพียง
6. มุ่งมั่นในการทำงาน   
7. รักความเป็นไทย
                      8. มีจิตสาธารณะ

ข้อมูลพื้นฐาน
อาคารสถานที่
อาคาร / รูปแบบ
สร้างเมื่อ  พ.ศ.
จำนวน
หลัง
ห้อง / ที่ / ถัง
อาคารเรียน
   -  อาคารถาวร  แบบ ร.ร.ตำตรวจตระเวณชายแดน
   -  อาคารถาวร  แบบ  สปช. 102/26
   -  อาคารถาวร  แบบ  สปช. 105/29 
อาคารประกอบ
   -  อาคารอเนกประสงค์ 
   -  บ้านพักครู  แบบรวม
   -  ส้วม  แบบ  สปช.  601/61
   -  อาคารห้องสมุด (ชั่วคราว)
    - อาคารเก็บอุปกรณ์เกษตร
    -  อาคารละหมาด
    - ศาลาพักร้อง
   -  อาคารสหกรณ์ร้านค้า  (ชั่วคราว)
สาธารณูปโภค
   -  น้ำประปา
   -  ไฟฟ้า
   -  ถังเก็บน้ำฝน

2537

2542
2548

2537
2537
2537
2539
2540
2542
2543
2545

-
-
2539

1

1
1

1
1
1
1
1
1
1
1

-
3  มิเตอร์
1

6

3
4
2
1
2
4
1
1
1
1
1

-
-
3


 

แบบบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับการปฏิบัติงานที่เป็นเลิศ  ( Best  Practice)
จากการดำเนินงานตามกลยุทธ์ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน  ปีงบประมาณ  2552
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเป็นผู้บันทึกข้อมูล

จากการดำเนินงานตามกลยุทธ์ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน  ปีงบประมาณ  2552  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามีวิธีการปฏิบัติงานที่เป็นเลิศ  ( Best  Practice )  ในแต่ละกลยุทธ์/  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานราธิวาส  เขต  3 
ชื่อ   Best  Practice  พัฒนานักเรียนสู่ความเป็นเลิศ
สอดคล้องกับประเด็นหลัก/กลยุทธ์  ข้อที่  3  พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาทุกระดับ
1.              แนวคิด/ความเป็นมาของ  Best  Practice
สืบเนื่องจากผลการสอบประเมินคุณภาพการศึกษาระดับชาติ ( NT และ ONET )  ปีการศึกษาที่ผ่านมาผู้เรียนทำคะแนนไม่ดีเท่าที่ควร  เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อม  สร้างประสบการณ์และทบทวนเนื้อหาที่เรียน  พร้อมทั้งช่วยเสริมสร้างความเป็นเลิศวิชาการให้กับโรงเรียน  จึงจัดให้มีโครงการนี้ขึ้น
      2.   วัตถุประสงค์และประโยชน์ของ Best  Practice
              1.  เพื่อผู้เรียนมีความตื่นตัวทางด้านวิชาการ
2.  เพื่อให้ผู้เรียนทำคะแนน ( NT  และ ONET )  ได้มากขึ้น
3.  เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ความสามารถมากขึ้น
                4.  เพื่อเตรียมความพร้อม และสร้างประสบการณ์ของผู้เรียนในการทำแบบทดสอบ
             5.  เพื่อทบทวนเนื้อหาที่เรียน
             6.  เพื่อเสริมสร้างความเป็นเลิศทางวิชาการ
       3.   กลุ่มเป้าหมายในการนำ Best  Practice
   ด้านปริมาณ
1.  ผู้เรียนทุกคนเข้าร่วมโครงการ
2.  จัดสอนพิเศษอย่างน้อยวันละ  1  ชั่วโมง  ในคาบอ่านคล่อง  เขียนง่าย
ด้านคุณภาพ
1.  ผู้เรียนมีความรู้และได้รับประสบการณ์ทางด้านวิชาการมากยิ่งขึ้น
              2.  ผู้เรียนมีความชำนาญในการทำแบบฝึกหัด  และแบบทดสอบอย่างหลากหลาย
              3.  ผู้เรียนทำคะแนนผลการสอบ ( NT ) ได้อย่างน้อยร้อยละ  5O  ทุกรายวิชา
              4.  ผู้เรียนเกิดความเชื่อมั่นและมีความสุขในการทำแบบทดสอบ
              5.  สร้างค่านิยมอันดีระหว่างผู้ปกครองต่อโรงเรียนทางด้านวิชาการ
    4.   ขั้นตอนการพัฒนา  Best  Practice  ( ระยะเวลาตั้งแต่เริ่มพัฒนา )
               ตลอดปีงบประมาณ

    5.  รายละเอียดของ  Best  Practice ( กิจกรรมการดำเนินงาน  ขั้นตอนการใช้ ฯลฯ )

           กิจกรรม
..
มิ..
..
..
..
..
..
..
..
..
มี..
1.ประชุมคณะครู กรรมการ นักเรียน






  



2.แต่งตั้งผู้รับผิดชอบ






  



3.เสนอและอนุมัติโครงการ






  



4.ดำเนินงาน










5.ติดตาม  และประเมินผล










6.สรุปและงานผล











6. องค์ความรู้/ประสบการณ์ที่เกิดขึ้นจากการนำ  Best  Practice ไปใช้
                1. ผู้เรียนมีความตื่นตัวทางด้านวิชาการ
                2. ให้ผู้เรียนทำคะแนน ( NT และ Onet )  ได้มากขึ้น
                3. ให้ผู้เรียนมีความรู้ความสามารถมากขึ้น
                4. เตรียมความพร้อม  และสร้างประสบการณ์ของผู้เรียนในการทำแบบทดสอบ
                5. ทบทวนเนื้อหาที่เรียน
                6. เสริมสร้างความเป็นเลิศทางวิชาการ
7.กระบวนการทบทวน  กลั่นกรอง  ตรวจสอบ  Best  Practice  เพื่อให้เกิดผลที่เป็นเลิศ
( พร้อมระบุช่วงเวลาการทบทวน  กลั่นกรอง  ตรวจสอบซ้ำ )
ประเมินผล / ปรับปรุง / เดือนมีนาคม  2553
8. รูปแบบ / วิธีการประชาสัมพันธ์  เผยแพร่  Best  Practice 
ประชุมชี้แจงคณะกรรมการสถานศึกษา  คนในชุมชน   ให้ทราบเกี่ยวกับการดำเนินโครงการ  และบทบาทหน้าที่ของคนในชุมชนที่จะสามารถช่วยโครงการให้ประสบผลสำเร็จได้
9.การขยายผล Best  Practice / องค์กร  หน่วยที่มีส่วนร่วม
          1.  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานราธิวาส  เขต 3
         2.   คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
          3.   ศูนย์เครือข่ายการศึกษาจะแนะ ช้างเผือก